อาหารเช้าสําคัญอย่างไร?
หลายคนอาจจะมองข้ามความสำคัญของอาหารเช้าว่าอาหารเช้าสําคัญอย่างไร วันนี้เราจึงนำความรู้ดี ๆ ที่ใครหลายคนมองข้ามกับอาหารเช้าสําคัญ แน่นอนว่าเช้าที่เร่งรีบของใครหลาย ๆ คนอาจจะมองว่าการรับประทานอาหารตอนเช้ากลายเป็นเรื่องที่น่าเสียเวลาไปโดย ปริยาย แล้วใครหลาย ๆ คนที่ว่าก็รู้ดีซะด้วยว่า อาหารเช้าสําคัญอย่างไร แต่จะมีสักกี่คนในจำนวนหลายคนที่จะให้ความสำคัญกับอาหารเช้า วันนี้เราก็เลยนำเอาเกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะมาบอกถึงความสำคัญที่คุณก็นึกไม่ถึงว่า อาหารเช้าสําคัญอย่างไร ถ้าอยากจะรู้อาหารเช้าสําคัญอย่างไรดูได้จากประโยชน์ของอาหารเช้า แล้วถ้าคุณได้รู้ถึงความสำคัญของประโยชน์อาหารเช้า คุณจะไม่พูดคำว่าเสียเวลา รวมถึงข้ออ้างต่าง ๆ ในการรับประทานอาหารเช้าในช่วงเวลาที่เร่งรีบของคุณจะหมดไป แล้วคุณก็จะหันมาให้ความสำคัญกับอาหารเช้าที่คุณเคยมองข้ามได้อย่างง่ายดาย เชียวแหละ6 ประโยชน์ของอาหารเช้า "อาหารเช้าสําคัญอย่างไร?"
1. อาหารเช้าช่วยควบคุมโรคอ้วนและน้ำหนักได้เป็นอย่างดี นั่นเพราะจากมื้อดึกจนถึงเช้าวันใหม่เราอดอาหารมานานเกือบ 12 ชั่วโมง และหากเรายิ่งไม่ทานอาหารเช้าเข้าไปอีกจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง จนไปเพิ่มแนวโน้มการรับประทานอาหารที่มีพลังงานและไขมันสูงในมื้อเที่ยงมาก ขึ้นและนี่ก็เป็นสาเหตุให้มีน้ำหนักเกินและโรคอ้วนได้อย่างไม่รู้ตัว
2. ผลการวิจัยจากสมาคมแพทย์โรคหัวใจในอเมริกาเมื่อปี 2003 พบว่า การรับประทานอาหารเช้าอย่างสม่ำเสมออาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้น เลือดสมองและโรคหัวใจได้ด้วย เพราะในตอนเช้าเลือดของเรามีความเข้มข้นสูงและทำให้เส้นเลือดที่ส่งไปเลี้ยง สมอง หรือหัวใจอุดตันได้ แต่ถ้ารับประทานอาหารเช้าเข้าไปจะช่วยให้ระดับความเข้มข้นในเลือดเจือจางลง
3. มีการวิจัยพบว่า การรับประทานอาหารเช้ามีส่วนเพิ่มประสิทธิภาพการเรียน การทำงาน ทำให้ระบบความจำ ทักษะการเรียนรู้ และอารมณ์ดีขึ้น แต่หากใครไม่ทานอาหารเช้าจะมีสมาธิน้อยลงและสมองก็ทำงานได้ไม่เต็มที่
4. ช่วยลดโอกาสเกิดโรคนิ่ว การไม่รับประทานอาหารนานกว่า 14 ชั่วโมงจะทำให้คอเลสเตอรอลในถุงน้ำดีจับตัวกันนาน หากนาน ๆ ไปสิ่งที่จับตัวกันนั้นจะกลายเป็นก้อนนิ่ว แต่หากเราทานอาหารเช้าเข้าไปล่ะก็ มันจะไปกระตุ้นให้ตับปล่อยน้ำดีออกมาละลายคอเลสเตอรอลที่จับตัวกันอยู่ได้
5. ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานได้ โดยคนที่รับประทานอาหารเช้าจะมีภาวะผิดปกติของฮอร์โมนอินซูลิน หรือที่เรียกว่าภาวะดื้อต่ออินซูลินซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเบาหวานนั้นลดลงถึง 35-50% เลยทีเดียว
6. สำหรับเด็ก ๆ การอดอาหารเช้าเป็นประจำ อาจทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอส่งผลให้ร่างกายไม่แข็งแรง การเจริญเติบโตไม่เป็นไปตามเกณฑ์และยังส่งผลต่อสติปัญญา ทำให้ขาดสมาธิ ส่งผลเสียในระยะยาวอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น